วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการปรับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนอันจะมีผลต่อการเรียนการสอน

การแก้ไขปัญหาเด็กดื้อและการชอบรังแกเพื่อนของนักเรียนโดยการเล่านิทาน
ในระดับชั้นอนุบาล 1/2 โรงเรียนเทศบาลธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย นางสาวนุสรณ์จิต  ธรรมศิริ อาจารย์ 1 ระดับ 5

                                                      การศึกษาเฉพาะรายกรณี
 1.  สภาพปัญของนักเรียน
  ชื่อ เด็กชาย อรรถพล  แซ่อึ้ง
พฤติกรรมที่เห็นสมควรเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้  จากกรณีที่เด็กมีนิสัยดื้อรัน ชอบรังแกเพื่อนร่วมชั้นเรียนอยู่เป็นประจำ ซึ่งจากปัญหานี้เองนั้น ก็จะใช้วิธีการในการ "เล่านิทาน" มาแก้ไข และปรับเปลี่ยนของเด็กไปในทางที่ดีขึ้น เพื่อจะไม่ได้เป็นปัญหาในห้องเรียนอีกต่อไป

2.  วัตถุประสงค์การศึกษา
    2.1  เพื่อศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวชอบรังแกเพื่อนของนักเรียน
    2.2  เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก้าวร้าวชอบรังแกเพื่อน

3.  ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
      เริ่มศึกษาเมื่อวันที่ 8  เดือน มกราคม  พ.ศ.  2544
      สิ้นสุดการศึกษาเมื่อวันที่   26  เดือน มกราคม  พ.ศ.  2544

4.  การวิเคราะห์ผลการศึกษาพฤตกรรมที่เป็นปัญหา
              หลังจากศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนทุก ๆ ด้านแล้ว ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการศึกษาหาสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ปรากฏดังนี้
      พฤติกรรมที่เป็นปัญหา
     -  นักเรียนมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และชอบรังแกเพื่อนอยู่หลายคน เช่น ชอบ เตะ ต่อย แย่งของเล่น และขนมของเพื่อน จนทำให้เพื่อนต้องร้องไห้มาฟ้องคุณครู
      สาเหตุ
    -  พฤติกรมก้าวร้าวเป็นลักษณะหนึ่งของบุคลิกภาพที่ก่อให้เกิดความเสียหาย โดย ฟรอยด์ นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงได้ให้ความหมายของพฤติกรรมก้าวร้าวในเชิงทฤษฎีสัญชาตญาณ ว่าพฤติกรรมก้าวร้าวที่แสดงออกมา คือ การทำลายคนอื่น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้อื่นรับพฤติกรรมก้าวร้าวนั้นมีอันตรายแตกดับไป สรุปได้ว่าพฤติกรรมก้าวร้าว คือพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากการกระทำแล้วทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมที่ชอบรังแกเพื่อนอยู่เสมอ

5.  การดำเนินงานปรับปรุงและแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
            การดำเนินงานปรับปรุงและแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน ได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1.  ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
2.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.  แบบแผนการวิจัย และวิธีดำเนินการวิจัย
4.  วิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

 6.  เครื่องมือที่ในการวิจัย
1.  แบบสังเกตพฤติกรรมก่อนการวิจัย
2.  นิทานส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคม
3.  แบบสังเกตพฤติกรรมหลังการวิจัย

7.     แบบแผนการวิจัย
1.  แบบสังเกตพฤติกรรม (ก่อนวิจัย)
2.  เล่านิทาน
3.  แบบสังเกตพฤติกรรม (หลังวิจัย)
4.  สรุปผล

8.  วิธีการดำเนินการวิจัย
1.  สังเกตพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง แล้วบันทึกผล
2.  เล่านิทานส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคม
3.  สังเกตพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงแล้วบันทึกผล

9.  สรุปผลการศึกษา
 9.1  ประโยชน์และแนวคิดที่ได้จากการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียน
              ประโยชน์และแนวคิดที่ได้จากการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียน โดยการเล่านิทาน ซึ่งในที่นี้ก็คือ เด็กชายอรรถพล แซ่อึ้งนั้น ทำให้เราได้เห็นถึงพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่ชอบรังแกเพื่อนก็ลดลง และจากการบันทึกผลการตอบคำถามแสดงความคิดเห็นกับคุณครูก็เปลี่ยนไปในสิ่งที่ดีขึ้นซึ่งจากการวิจัยกรณีนี้นั้น ทำให้ครูหลาย ๆ คนได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการใช้รูปแบบการสอน ที่เป็นแบบการเล่านิทาน มาใช้กับนักเรียนที่มีนิสัยก้าวร้าวดื้อรัน อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว เพราะเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้ถึงคุณธรรม จริยธรรม ความดีความชั่ว เพื่อให้ทันต่อสังคมที่เปลี่ยนแปลงเรื่อยมาอยู่ตลอดเวลา
   9.2  อุปสรรคที่เกิดจากการช่วยเหลือนักเรียน
      1.  การขาดความตั้งใจ และสมาธิในการฟังนิทานของนักเรียนยังมีไม่มากเท่าที่ควร
      2.  การกล่าวตักเตือน ชี้แนะให้นักเรียนเล็งเห็นถึงปัญหายังไม่ได้ผลเท่าที่ควร
      3.  นักเรียนยังไมเข้าใจถึงข้อคำถามท้ายเรื่องของนิทานเท่าใดนัก เนื่องจากขาดกระบวนการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิทานที่เล่า
   9.3  ข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนผู้นี้ต่อไป
        1.  ให้คำสั่งสอน ชี้นำ แก่นักเรียนอยู่สม่ำเสมอ โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหา เหตุของปัญหาและหนทางแก้ไข
        2.  ฝึกให้นักเรียน รู้จักใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
        3.  ชี้ให้เห็นถึง บาปบุญคุณโทษ ผิดชอบชั่วดี  เพื่อให้เด็กตระหนักผลของเรื่องกรรมที่จะได้รับเมื่อไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น