วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-SERVICES)

            ในช่วงระยะเวลาเพียง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่าพัฒนาการเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นผลทำให้โลกพัฒนาเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันไม่ว่าจะอยู่ที่ส่วนใดของโลกก็สามารถติดต่อโทรศัพท์พูดคุยกันได้เสมือนนั่งอยู่เคียงข้างกัน พัฒนาการของการสื่อสารกำลังทำให้วิถีการทำงานบางอย่างของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป มีการใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทำได้อย่างรวดเร็ว


E-SERVICES
         e-service คือ ระบบบริการประชาชนผ่านอิเล็กทรอนิกส์ online โดยเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนสำหรับบริการด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐ เช่น การเสียภาษี/ค่าธรรมเนียม การจดทะเบียน และการยื่นคำร้อง เป็นต้น

         อาจกล่าวได้ว่า e-service เป็นเป้าหมายหลักของทุกประเทศที่มุ่งพัฒนาบริการของภาครัฐให้ประชาชนเข้าถึงได้ โดยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาช่องทางใหม่ ในการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็มักจะเน้นช่องทางที่ใช้ อินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อและให้บริการกับประชาชน การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้หลาก หลายรูปแบบและมีความซับซ้อนในระดับที่แตกต่างกันตามเทคโนโลยี และ สถาปัตยกรรมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดช่องทางใหม่ๆ ให้ประชาชนสามารถเลือกใช้เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ความสำคัญของ E-SERVICE

           ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจมีความสนใจในการที่จะสร้างเว็บไซต์ (Web Site) เพื่อใช้ในการทำธุรกิจ (E-Business) หรือ ทำการค้า (E-Commerce) รวมไปถึงใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด (E-Marketing) ซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ด้านการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจขององค์กรโดยมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เดิมทีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเว็บไซต์คือเป็นสื่อกลาง (Media) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรไปสู่ลูกค้า หรือเรียกว่า "E-Service" ด้วยประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตคือ "any time, any where, any person"
         E-SERVICE นั้นสามารถมีอยู่ได้ในทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือว่าเอกชน เพราะจะทำให้หน่วยงานเป็นหน่วยงานที่ทันสมัย สามารถติดต่อกับภายนอกได้ ถ้าหน่วยงานไหนไม่ทำหน่วยงานที่มี E-Service หน่วยงานก็ที่ล้าสมัยทันที จะเป็นหน่วยงานที่ถูกทอดทิ้ง เพราะไม่สามารถไปเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นได้
E-SERVICE นั้น อาจมีส่วนที่ย่อยๆๆ ลงไปได้ อาจมีหลายๆองค์ประกอบมารวมกัน อีกทั้งนี้ E-Service ก็ยังสามารถ เป็นองค์ประกอบย่อยของ E-Government หรือ E-University ได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. วัตถุประสงค์หลักของ E - Services คือการมีกวีนิพนธ์ที่เลือกคัดตัดตอนมาจากหลายเล่มของเครือข่าย resident บริการซอฟต์แวร์เข้าถึงได้ผ่านทางโปรโตคอลมาตรฐานที่มีความหมายสามารถค้นพบอย่างสม่ำเสมอและรวมอยู่ในโปรแกรม การศึกษาพิเศษเสริมความหมายให้แก่ E - Service โดยการพึ่งพาอาศัยกันด้วยความสามารถอัจฉริยะเพื่อการ choreography อย่างมีประสิทธิภาพของกระบวนการจึงคำว่า "ฉลาด E - Services"
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือการเสนอองค์ประกอบของอัจฉริยะ E - Service บริการในลักษณะที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันในช่วงของการบริการที่เกี่ยวข้องกับหลายองค์กรอิสระเสมือน (หมวด) คาดว่ากรอบที่กำหนดและสนับสนุนองค์ประกอบของอัจฉริยะ E - Services จะเกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการจัดตั้งขององค์กรเสมือน dynamic (DVEs) เป็นสถานการณ์ธุรกิจสมัคร

เป้าหมาย
E-service เป็นเป้าหมายหลักของทุกประเทศที่มุ่งพัฒนาบริการของภาครัฐให้ประชาชนเข้าถึงได้ โดยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาช่องทางใหม่ ในการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็มักจะเน้นช่องทางที่ใช้ อินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อและให้บริการกับประชาชน การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้หลาก หลายรูปแบบและมีความซับซ้อนในระดับที่แตกต่างกันตามเทคโนโลยี และ สถาปัตยกรรมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดช่องทางใหม่ๆ ให้ประชาชนสามารถเลือกใช้เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

วิเคราะห์E - SERVICES กับสัมพันธ์กับสังคมปัจจุบัน
1.Electronic Banking Service
         คือการให้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking Service ) เป็นธุรกิจของธนาคารที่เปิดดำเนินการธุรกรรม ดังนี้ การโอนเงิน , ตรวจสอบยอดคงเหลือ , ตรวจสอบรายการทางการเงิน , การลงทุน, การซื้อพันธบัตรและ การยื่นขอเอกสารสินเชื่อ
2.Online Bill – Paying Service
       คือ การให้บริการชำระเงินออนไลน์ ( Online Bill-Paying Service ) เป็นที่นิยมมากในทุกด้าน เช่น ธุรกิจธนาคาร, ธุรกิจประกันชีวิต , ธุรกิจค้าส่ง , ธุรกิจแฟรนไชส์และสถาบันการศึกษา
3.Job Marker Service
       คือ การให้บริการตลาดนัดแรงงาน ( Job Market Service) เป็นสื่อกลางที่ผู้ประกอบการสามารถค้นหารายชื่อผู้สมัครงานและประกาศฝากรับสมัครงานในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ เช่นเดียวกับผู้สมัครงานก็สามารถหางานตามตำแหน่งงานที่ตนเองต้องการ
4.  Travel and Tourism Service
      คือ การให้บริการเดินทางและท่องเที่ยว ( Travel and Tourism Service ) เป็นการให้บริการข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ( E-Travel ) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกประเทศ การให้บริการข้อมูลที่พักโรงแรม ร้านอาหาร บริษัทรับจัดทัวร์ บริษัทวางแผนการท่องเที่ยว เส้นทางเดินรถ เบอร์โทรศัพท์เป็นต้น
5.  Community Service
     คือ การให้บริการชุมชนอิเล็กทรอนิกส์( Communities Service ) ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ ( E-Community )หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชุมชนเสมือน ( Virtual Communities ) หมายถึง สถานที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งเอาไว้และอนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีความสนใจในเรื่องนั้นเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ห้องสนทนา( Chat Room )หรือกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ( Web broad )
6.  E-Learning Service
      คือ เว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มากมาย ทั้งเนื้อหาวิชาต่างๆ รวมไปถึงกิจกรรมที่น่าสนใจให้ร่วมสนุก ซึ่งในขณะนี้ ทางคณะผู้จัดทำเว็บไซต์ รวมไปถึงคณาอาจารย์ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ กำลังรวบรวมความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำเสนอต่อผู้ที่สนใจ และต้องการหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากในห้องเรียนปกติ

ข้อดี- ข้อเสียของ E-service


ข้อดี

- ไม่เสียเวลาในการเดินทาง
- มีข้อมูลให้เลือกหลากหลาย
- สะดวกรวดเร็ว

ข้อเสีย

- ส่วนใหญ่ของเว็บไซต์ทั่วไปไม่สามารถให้บริการผู้พิการ
- บุคคลละเมิดความเป็นส่วนตัวของหน่วยงานภาครัฐที่ใช้เทคโนโลยีในการเก็บรวบรวมจัดเก็บขอมูลได้เติบโตแพร่หลายมากขึ้น ทำให้เสียหายและเป็นอันตรายต่อองค์กร
- มีความเสี่ยงสุขภาพเกิดการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างต่อเนื่องบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์
- เกิดความไม่เสมอภาคทางสังคมและเป็นกุญแจสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ยังสามารถเข้าถึงโดยบุคคลในประเทศต่างๆไม่เท่ากัน

นวัตกรรมการปรับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนอันจะมีผลต่อการเรียนการสอน

การแก้ไขปัญหาเด็กดื้อและการชอบรังแกเพื่อนของนักเรียนโดยการเล่านิทาน
ในระดับชั้นอนุบาล 1/2 โรงเรียนเทศบาลธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย นางสาวนุสรณ์จิต  ธรรมศิริ อาจารย์ 1 ระดับ 5

                                                      การศึกษาเฉพาะรายกรณี
 1.  สภาพปัญของนักเรียน
  ชื่อ เด็กชาย อรรถพล  แซ่อึ้ง
พฤติกรรมที่เห็นสมควรเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้  จากกรณีที่เด็กมีนิสัยดื้อรัน ชอบรังแกเพื่อนร่วมชั้นเรียนอยู่เป็นประจำ ซึ่งจากปัญหานี้เองนั้น ก็จะใช้วิธีการในการ "เล่านิทาน" มาแก้ไข และปรับเปลี่ยนของเด็กไปในทางที่ดีขึ้น เพื่อจะไม่ได้เป็นปัญหาในห้องเรียนอีกต่อไป

2.  วัตถุประสงค์การศึกษา
    2.1  เพื่อศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวชอบรังแกเพื่อนของนักเรียน
    2.2  เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก้าวร้าวชอบรังแกเพื่อน

3.  ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
      เริ่มศึกษาเมื่อวันที่ 8  เดือน มกราคม  พ.ศ.  2544
      สิ้นสุดการศึกษาเมื่อวันที่   26  เดือน มกราคม  พ.ศ.  2544

4.  การวิเคราะห์ผลการศึกษาพฤตกรรมที่เป็นปัญหา
              หลังจากศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนทุก ๆ ด้านแล้ว ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการศึกษาหาสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ปรากฏดังนี้
      พฤติกรรมที่เป็นปัญหา
     -  นักเรียนมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และชอบรังแกเพื่อนอยู่หลายคน เช่น ชอบ เตะ ต่อย แย่งของเล่น และขนมของเพื่อน จนทำให้เพื่อนต้องร้องไห้มาฟ้องคุณครู
      สาเหตุ
    -  พฤติกรมก้าวร้าวเป็นลักษณะหนึ่งของบุคลิกภาพที่ก่อให้เกิดความเสียหาย โดย ฟรอยด์ นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงได้ให้ความหมายของพฤติกรรมก้าวร้าวในเชิงทฤษฎีสัญชาตญาณ ว่าพฤติกรรมก้าวร้าวที่แสดงออกมา คือ การทำลายคนอื่น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้อื่นรับพฤติกรรมก้าวร้าวนั้นมีอันตรายแตกดับไป สรุปได้ว่าพฤติกรรมก้าวร้าว คือพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากการกระทำแล้วทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมที่ชอบรังแกเพื่อนอยู่เสมอ

5.  การดำเนินงานปรับปรุงและแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
            การดำเนินงานปรับปรุงและแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน ได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1.  ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
2.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.  แบบแผนการวิจัย และวิธีดำเนินการวิจัย
4.  วิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

 6.  เครื่องมือที่ในการวิจัย
1.  แบบสังเกตพฤติกรรมก่อนการวิจัย
2.  นิทานส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคม
3.  แบบสังเกตพฤติกรรมหลังการวิจัย

7.     แบบแผนการวิจัย
1.  แบบสังเกตพฤติกรรม (ก่อนวิจัย)
2.  เล่านิทาน
3.  แบบสังเกตพฤติกรรม (หลังวิจัย)
4.  สรุปผล

8.  วิธีการดำเนินการวิจัย
1.  สังเกตพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง แล้วบันทึกผล
2.  เล่านิทานส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคม
3.  สังเกตพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงแล้วบันทึกผล

9.  สรุปผลการศึกษา
 9.1  ประโยชน์และแนวคิดที่ได้จากการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียน
              ประโยชน์และแนวคิดที่ได้จากการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียน โดยการเล่านิทาน ซึ่งในที่นี้ก็คือ เด็กชายอรรถพล แซ่อึ้งนั้น ทำให้เราได้เห็นถึงพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่ชอบรังแกเพื่อนก็ลดลง และจากการบันทึกผลการตอบคำถามแสดงความคิดเห็นกับคุณครูก็เปลี่ยนไปในสิ่งที่ดีขึ้นซึ่งจากการวิจัยกรณีนี้นั้น ทำให้ครูหลาย ๆ คนได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการใช้รูปแบบการสอน ที่เป็นแบบการเล่านิทาน มาใช้กับนักเรียนที่มีนิสัยก้าวร้าวดื้อรัน อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว เพราะเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้ถึงคุณธรรม จริยธรรม ความดีความชั่ว เพื่อให้ทันต่อสังคมที่เปลี่ยนแปลงเรื่อยมาอยู่ตลอดเวลา
   9.2  อุปสรรคที่เกิดจากการช่วยเหลือนักเรียน
      1.  การขาดความตั้งใจ และสมาธิในการฟังนิทานของนักเรียนยังมีไม่มากเท่าที่ควร
      2.  การกล่าวตักเตือน ชี้แนะให้นักเรียนเล็งเห็นถึงปัญหายังไม่ได้ผลเท่าที่ควร
      3.  นักเรียนยังไมเข้าใจถึงข้อคำถามท้ายเรื่องของนิทานเท่าใดนัก เนื่องจากขาดกระบวนการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิทานที่เล่า
   9.3  ข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนผู้นี้ต่อไป
        1.  ให้คำสั่งสอน ชี้นำ แก่นักเรียนอยู่สม่ำเสมอ โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหา เหตุของปัญหาและหนทางแก้ไข
        2.  ฝึกให้นักเรียน รู้จักใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
        3.  ชี้ให้เห็นถึง บาปบุญคุณโทษ ผิดชอบชั่วดี  เพื่อให้เด็กตระหนักผลของเรื่องกรรมที่จะได้รับเมื่อไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่น